ในยุคปัจจุบัน ผู้คนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพจิตกันมากขึ้น การพบจิตแพทย์จึงเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ยังมีบางคนรู้สึกอาย หรือกลัวว่าการไปปรึกษาจิตแพทย์จะถูกมองในแง่ลบ หรือไม่อยากกินยา แค่อยากขอคำปรึกษาและพูดคุย และไม่รู้ว่าแพทย์จะให้คำแนะนำที่แตกต่างจากการพูดคุยกับเพื่อนหรือคนสนิทหรือไม่อย่างไร
การไปพบจิตแพทย์ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยจิตเวชเท่านั้น แต่อาจเป็นการขอคำแนะนำหรือปรึกษาปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ เช่น ปัญหาวัยรุ่น ความสัมพันธ์ การทำงาน การปรับตัว หรืออื่นๆ ที่ทำให้รู้สึกเครียด วิตกกังวล ทุกข์ใจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ก็สามารถปรึกษาจิตแพทย์ได้เช่นกัน
ลองตอบคำถามว่า คุณหรือคนใกล้ชิด มีความรู้สึกเหล่านี้ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาหรือไม่ ?
ถ้าตรงกับคุณตั้งแต่ 6 ข้อขึ้นไป ควรปรึกษาจิตแพทย์ค่ะ
- รู้สึกจิตใจหม่นหมอง (เกือบตลอดทั้งวัน)
- รู้สึกเป็นทุกข์จนอยากร้องไห้
- รู้สึกหมดอาลัยตายอยาก
- รู้สึกผิดหวังในตนเอง
- โทษตนเองในสิ่งที่เกิดขึ้น
- สูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง
- อยากอยู่คนเดียว รู้สึกไร้ค่า
- คิดอะไรไม่ออก คิดได้ช้ากว่าปกติ หลงลืมง่าย
- พูดช้า ทำอะไรช้ากว่าปกติ
- อ่อนเพลียเหมือนไม่มีแรง
- เบื่ออาหาร หรือกินมากไป
- หลับไม่สนิท หรือหลับมากไป
เมื่อเรารู้สึกว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดเปลี่ยนไป มีอาการดังที่กล่าวมา และไม่สามารถหาทางออกได้ การปรึกษาจิตแพทย์น่าจะดีกว่าการพูดคุยกับคนสนิท และหากไม่ต้องการกินยา ก็มีทางเลือกในการรักษา คือการพูดคุยให้คำปรึกษา และการทำจิตบำบัด เพื่อได้รับการดูแลจิตใจให้แข็งแรง และกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติดังเดิม
ให้คำปรึกษาปัญหา และอาการทางสุขภาพจิต (สำหรับผู้ที่อายุ 12 ปีขึ้นไป) โดยจิตแพทย์ อาทิ
- โรคซึมเศร้า
- วิตกกังวล
- นอนไม่หลับ
- ตื่นตระหนก (แพนิค)
- หลงลืม
- อารมณ์สองขั้ว (ไบโพล่าร์)
- ปัญหาวัยรุ่น ปัญหาครอบครัว ความสัมพันธ์ การปรับตัว เป็นต้น
เบอร์โทร
โทร : 043-002-002 ต่อ 2505
เวลาทำการ
เปิดบริการ วันอาทิตย์ เวลา 9.00-12.00 น.
สถานที่ตั้ง
อาคาร 1 ชั้น 2
แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง
คุกกี้และความเป็นส่วนตัว
เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย