degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

​เบาหวานกับผลแทรกซ้อนทางตา

เบาหวานกับผลแทรกซ้อนทางตา

Diabetic Eye

ผลแทรกซ้อนทางตาเมื่อเป็นเบาหวาน

  1. สายตาเปลี่ยนแปลงบ่อย จากระดับน้ำตาลที่ไม่คงที่
  2. ต้อกระจก จะเกิดเร็วและสุกได้เร็วกว่าต้อกระจกทั่วไป
  3. ต้อหิน พบในผู้ป่วยเบาหวานมากกว่าคนทั่วไป 4 เท่า
  4. เบาหวานขึ้นจอประสาทตา ทำให้ประสาทตาบวมหรือมีเลือดออก ทำให้มองไม่เห็น บางรายจะเกิดต้อหินที่รุนแรงตามมา หรืออาจมีพังผืดดึงรั้งจอตา จนจอตาฉีกขาดและหลุดออกมาได้
  5. ขั้วประสาทตาบวม จากการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ทำให้ตามัว ลานสายตาแคบลง
  6. เส้นเลือดดำของจอตาอุดตัน ทำให้ตาบอดและมีต้อหินแทรกซ้อนตามมา
  7. มีการติดเชื้อในเบ้าตา ทำให้ตาโปนและบอดได้

“เบาหวานขึ้นจอประสาทตา ต้องระวัง !ถึงขั้นตาบอดได้”

ปัจจัยเสี่ยงเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

  1. เป็นเบาหวานนานเกิน 5 ปี จะเริ่มขึ้นตา ถ้าเป็นมานานกว่า 20 ปี จะขึ้นตา 100%
  2. คนที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี มีโอกาสขึ้นตาสูงกว่าคนที่คุมระดับน้ำตาลได้
  3. มีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคไต
  4. การตั้งครรภ์จะทำให้เบาหวานขึ้นตาเร็วขึ้น

Dm 1

รูปการตรวจจอประสาทตา ด้วย Digital Fundus Camera


“ ภาวะเบาหวานขึ้นตา สามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยเครื่องมือการตรวจและรักษาที่มีในปัจจุบัน ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานทุกคน ควรได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์ อย่างน้อยที่สุดปีละ 1 ครั้ง ”

อาการและการรักษา

  • ในระยะที่ยังไม่รุนแรง ตายังไม่มัว ให้มาตรวจกับจักษุแพทย์เป็นระยะทุก 6 เดือน ถ้าตามัวจากจอประสาทตาส่วนกลาง ให้ฉีดยา Steroid หรือ Bevacizumab หรือฉายเลเซอร์
  • ในระยะที่เป็นรุนแรง จะมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 3 อย่างดังนี้
    1. เลือดออกในน้ำวุ้น เห็นเลือดสีแดงลอยไปมาจากการแตกของเส้นเลือดเกิดใหม่
    2. พังผืดดึงจอตา อาจทำให้จอตาฉีกขาดเป็นรู
    3. จอตาลอกตัว

"ถ้ามีอาการในข้อ 2., และ 3. ต้องผ่าตัดเปลี่ยนน้ำวุ้น เลาะพังผืด และฉายเลเซอร์"

การรักษาเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในระยะแรกๆ จะได้ผลดีกว่าปล่อยให้เป็นมากแล้วรักษา ผู้ป่วยจะต้องมีความตั้งใจ อดทน และมาตรวจตามแพทย์นัด


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม